Thailand Sport Magazine Sponsored

“ธนาคารสเต็มเซลล์” ฝากชีวิตที่ดีเพื่อวันข้างหน้า

Thailand Sport Magazine Sponsored
Thailand Sport Magazine Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   


เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินเรื่อง “สเต็มเซลล์” แต่ส่วนใหญ่มองข้ามไป เพราะมองว่าไกลตัว อาจจะไม่เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ รวมถึงคิดว่าตนเองคงเข้าไม่ถึงหรือสุดท้ายคงอาจไม่เข้าใจและไม่ได้รับข้อมูลมากเพียงพอ เนื่องจากหากเราทราบประโยชน์ก็จะเห็นความสำคัญของสิ่งนี้อย่างแท้จริง

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าร่างกายของคนเรามีสเต็มเซลล์ซ่อนอยู่ในทุกอวัยวะเริ่มตั้งแต่ชีวิตก่อกำเนิดจากเซลล์แรก เป็นเซลล์ตัวอ่อนและเจริญเติบโตเป็นอวัยวะต่างๆ เป็นร่างกายที่สมบูรณ์ในที่สุด ซึ่งระหว่างที่เราเจริญเติบโตหรือมีอายุมากขึ้นก็จะมีสเต็มเซลล์ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป แต่ที่สำคัญที่สุดคือสเต็มเซลล์ทำหน้าที่ฟื้นฟู ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของอวัยวะต่างๆ ยิ่งถ้าเป็นในแง่ของนักกีฬายิ่งมีประโยชน์มาก สามารถยืดระยะเวลาการใช้งานร่างกาย รวมถึงทำให้ส่วนที่บาดเจ็บนั้นหายเร็วขึ้นอีกด้วย

ดังนั้นจะดีแค่ไหนถ้ามีการจัดเก็บเต็มเซลล์ไว้สำหรับใช้บำบัดรักษาโรคและฟื้นฟูสภาพความเสื่อมของร่างกายสำหรับตนเองรวมถึงคนในครอบครัว เมื่อถึงเวลาจำเป็นก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที นอกจากนี้เรื่องค่าใช้จ่ายที่ใครๆ กังวล ทุกวันนี้มีระบบผ่อนจ่ายที่ช่วยให้เข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย


– เก็บสเต็มเซลล์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน

“สเต็มเซลล์” หรือ “เซลล์ต้นกำเนิด” เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้นว่า มีบทบาทในทางบำบัดรักษาโรคให้กับผู้เป็นเจ้าของและบุคคลในครอบครัว แบ่งได้เป็น สเต็มเซลล์ ที่เก็บเกี่ยวได้จากตัวอ่อน (Embryonic stem cell) และสเต็มเซลล์ชนิดโตเต็มวัย (Adult stem cell) ได้จากมนุษย์ที่เติบโตแล้ว เซลล์จากตัวอ่อนยังเป็นสิ่งต้องห้ามในทางศีลธรรม เพราะการสกัดสเต็มเซลล์ จำเป็นต้องทำลายตัวอ่อน ในขณะที่เซลล์ชนิดโตเต็มวัยที่ได้จากตัวผู้รักษาเองไม่มีการทำลายชีวิตตัวอ่อน จึงเป็นที่ยอมรับมากกว่า เช่น สเต็มเซลล์เก็บจากเลือดในสายสะดือ เนื้อเยื่อสายสะดือและเยื่อหุ้มรก

สเต็มเซลล์ จึงถูกมองว่า มีบทบาทความสำคัญยิ่งสำหรับคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับทุกคนในครอบครัว โดยสเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือ เนื้อเยื่อสายสะดือและเยื่อหุ้มรกสามารถจัดเก็บได้ตอนแม่คลอด ไม่เจ็บปวด อีกทั้งจัดเป็นเซลล์ที่มี HLA ตรงกับทารก 100% ซึ่งมีการศึกษาแล้วว่า สเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือสามารถรักษาได้มากกว่า 85 โรค ทั้งแก่ลูกน้อยและพี่น้องร่วมสายโลหิตที่มีเนื้อเยื่อตรงกัน เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย ทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งไขกระดูก มะเร็งในเด็กบางชนิด และโรคที่ไม่ใช่มะเร็งอย่าง โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคความบกพร่องทางภูมิคุ้มกันที่เป็นมาแต่กำเนิด โรคเม็ดตาบอลิซึมที่เป็นมาแต่กำเนิด เป็นต้น


นอกจากนี้สเต็มเซลล์ชนิดที่เรียกว่า “มีเซนไคมอลสเต็มเซลล์” (Mesenchymal Stem Cells) หรือ “เอ็มเอสซี” (MSC’s) ที่ได้จากเนื้อเยื่อสายสะดือหรือเยื่อหุ้มรกยังมีศักยภาพสูงในการแบ่งตัวและพัฒนาไปเป็นเซลล์ประเภทต่าง ๆ ได้ เช่น เซลล์ไขมัน กระดูกอ่อน กระดูก จึงมีประโยชน์ในการนำมาใช้รักษาฟื้นฟูสภาวะเสื่อมในผู้ใหญ่ โดยมีการศึกษาพบว่า สามารถใช้ฟื้นฟูโรคได้หลายชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคข้อเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคสมองพิการ โรคออสทิสติก โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือฉีกขาด โรคไตอักเสบ โรคตับอักเสบ โรคภูมิแพ้ตัวเอง (SLE) และอีกกว่า 45 รายงานการวิจัยจาก 597 การศึกษาวิจัยทั่วโลก ที่พบว่ามีการรักษาโควิด-19 ด้วยสเต็มเซลล์อีกด้วย

จากคุณประโยชน์ของสเต็มเซลล์ ที่เป็นอีกทางเลือกในการรักษาโรค ทำให้สังคมโลกตื่นตัวเรื่องการเก็บสเต็มเซลล์ไว้สำหรับอนาคตและกลายเป็นที่มาของ “ธนาคารสเต็มเซลล์” เกิดขึ้นหลายแห่งทั่วโลก และมีครอบครัวจำนวน ไม่น้อย ยอมจ่ายค่าบริการจัดเก็บรักษา เพื่อแลกกับคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของครอบครัวในอนาคต

– ธนาคารสเต็มเซลล์คืออะไร

ในปัจจุบันมีหน่วยงานทำหน้าที่เสมือน “ธนาคาร” แต่แตกต่างกันตรงที่ไม่ได้รับฝากเงิน ทว่ารับจัดเก็บเซลล์ของมนุษย์แทน หรือที่เรียกว่า “ธนาคารสเต็มเซลล์” ซึ่งให้บริการจัดเก็บรักษาสเต็มเซลล์ไว้ ใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ สร้างคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนให้กับสมาชิกทุกคนในครอบครัว หรือแม้แต่การบริจาคแก่บุคคลอื่นนำไปใช้รักษาโรคที่ทางการแพทย์ยอมรับว่าสเต็มเซลล์สามารถรักษาได้ และ “ไครโอวิวา” ก็เป็นหนึ่งในธนาคารจัดเก็บสเต็มเซลล์และผู้นำนวัตกรรมสเต็มเซลล์สำหรับใช้ในครอบครัวในประเทศไทย มาตรฐานระดับสากลที่ได้รับความไว้วางใจ


สำหรับในประเทศไทย มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ “ธนาคารสเต็มเซลล์” หลายแห่งเช่นกัน ทั้งที่เป็นบริษัทของเอกชนและหน่วยงานของภาครัฐ โดยในส่วนธนาคารสเต็มเซลล์ของภาครัฐนั้น ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้รับมอบหมายจากแพทยสภา ประกาศเป็นข้อบังคับว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2545 เกี่ยวกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ในราชกิจจานุเบกษากำหนด เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2545 ให้ทำหน้าที่จัดหาอาสาสมัครผู้บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตหรือสเต็มเซลล์ ที่ไม่ใช่ญาติให้แก่ผู้ป่วย โดยจัดตั้ง “ธนาคารเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตแห่งชาติ” เพื่อเป็นศูนย์กลางทะเบียน ตั้งแต่ปี 2545 โดยมีคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพงานสเต็มเซลล์ ซึ่งเป็นผู้บริหารและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก 5 สถาบันมาร่วมงาน ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และจากหน่วยงานอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ก็เป็นการตั้งของโรงพยาบาลเอง อาทิ ศูนย์ความเป็นเลิศทางงานวิจัยสเต็มเซลล์ของศิริราช ที่มุ่งสร้างงานวิจัยพื้นฐานพัฒนาสเต็มเซลล์ให้เป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคที่เกิดจากความเสื่อมหรือโรคที่มีความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ เป็นต้น

ส่วนธนาคารสเต็มเซลล์ของเอกชน ในประเทศไทยมีอยู่หลายแห่งเช่นกัน และในจำนวนนี้ “บริษัทไครโอวิวา (ประเทศไทย) จำกัด” คือผู้นำนวัตกรรมสเต็มเซลล์สำหรับใช้ในครอบครัวในประเทศไทย มาตรฐานระดับสากล “บริษัท ไครโอวิวา (ประเทศไทย) จำกัด” ถือเป็นผู้นำทางด้านธนาคารสเต็มเซลล์มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้วยรางวัลการันตีความสำเร็จมากมาย ด้วยการสร้างมาตรฐานที่แตกต่าง จนได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้บริการมายาวนาน กับความสำเร็จที่พร้อมอยู่เคียงข้างทุกคุณภาพชีวิตของทุกคนในครอบครัว หวังเจาะตลาดกลุ่มลูกค้า “Personal Life” ทุกเพศทุกวัยและทุกไลฟ์สไตล์ ที่สนใจในเรื่องการดูแลสุขภาพและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพระดับสูง


– ความเชื่อมั่นในการเก็บสเต็มเซลล์กับไครโอวิวา

จิรัญญา ประชาเสรี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไครโอวิวา (ประเทศไทย) จำกัดและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่าเหตุใดไครโอวิวาฯถึงได้รับการไว้วางใจจากทุกครอบครัวมาเป็นเวลากว่า 14 ปี “ก่อนอื่นต้องขอบคุณความไว้วางใจจากลูกค้าที่มั่นใจในการบริการของเรา และทีมงานที่ทำงานกันอย่างขยันขันแข็งจนในปัจจุบันถ้าพูดถึงไครโอวิวาฯ ในแต่ละสาขาทั่วโลกวันนี้เรามีเก็บสเต็มเซลล์ไว้มากกว่า 1,000,000 ยูนิต และอยู่ใน TOP 10 ของโลก โดยมีการพัฒนาและขยายเครือข่ายที่แข็งแกร่งต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเอเชีย ตะวันออกกลาง หรือ ออสเตรเลียก็ไว้ใจให้เราเก็บสเต็มเซลล์ อย่างตอนนี้ดิฉันได้รับมอบหมายให้ไปบริหารที่สาขาสิงคโปร์ ร่วมถึงโซนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้เพิ่มอีกด้วย

ทั้งนี้ทุกบริการของไครโอวิวาฯประเทศไทยจะวางแผน 3-5 ปี เพื่อทำการศึกษาและทดลองจนมั่นใจที่จะให้บริการนั้นแก่ลูกค้า ทำให้ล่าสุดเราได้เปิดตัวนิยามใหม่ “Your Life is Your Choice” เจาะกลุ่มลูกค้าทั่วไปที่สนใจในการดูแลสุขภาพ ก่อนหน้านี้เราโฟกัสกลุ่มคุณแม่และครอบครัวเป็นหลัก แต่วันนี้ต้องการให้ทุกคน ทุกเพศมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงศึกษาวิธีการใหม่ ทำให้พบนวัตกรรมที่นำ ”ไขมัน” มาเป็นประโยชน์เพื่อใช้เติมเต็มในส่วนที่เราบกพร่องได้ และยังสามารถนำไปเพาะเลี้ยงให้เป็นสเต็มเซลล์ของตนเองเพื่อใช้ในศาสตร์ชะลอวัย


– สเต็มเซลล์กับไวรัสโควิด-19

“ดร.นพ. ศุภชัย เอกวัฒนกิจ” โลหิตแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเซลล์และโลหิตวิทยา ผู้อำนวยการแพทย์ พร้อมด้วย “กมลรัตน์ ศรีถวิล” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไครโอวิวา (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้เราได้รับเชิญไปร่วมสนทนาเพื่ออัพเดตถึงบทบาทของสเต็มเซลล์ในปัจจุบัน รวมถึงความสามารถของสเต็มเซลล์กับการรักษาฟื้นฟูร่างกายจากโรคโควิด-19 ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในสถานการณ์การระบาดของโรคดังกล่าวในขณะนี้

ด้าน กมลรัตน์ ศรีถวิล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไครโอวิวา (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในการเก็บสเต็มเซลล์ หากเรากลัวเจ็บ เราก็สามารถเก็บได้ตั้งแต่แรกคลอด ซึ่งเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ในการวางแผนให้ โดยจะเก็บจากเลือดสายสะดือ ซึ่งเป็นเซลล์ที่มี HLA ตรงกับทารก 100% และสามารถให้พี่น้องใช้ได้ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการเก็บเนื้อเยื่อเป็นเส้นสายสะดือรวมถึงเนื้อเยื่อหุ้มรกด้วย ซึ่งนำมาใช้ในเรื่องของการฟื้นฟูได้ดี สามารถให้คุณพ่อคุณแม่ ปูย่า ตายาย ที่เป็นญาติสายตรงใช้ได้ แต่ใน14ปีที่ผ่านมามีวิวัฒนาการก้าวหน้าขึ้น โดยผู้ใหญ่ยังสามารถเก็บสเต็มเซลล์ของตัวเองได้จากไขมัน แต่สเต็มเซลล์ที่ได้จากวัยผู้ใหญ่จะมีอายุมากกว่า เมื่อเทียบกับสเต็มเซลล์ของทารก ดังนั้น ณ เวลานี้ กล่าวได้ว่า ทุกคนสามารถใช้สเต็มเซลล์ของตัวเองเพื่อใช้ในการรักษาโรคโคหรือฟื้นฟูภาวะเสื่อม ได้ ครอบครัวในส่วน ผู้ที่เก็บสเต็มเซลล์ไว้จึงโชคดีที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ยามที่ต้องการ อย่างไรก็ดีสเต็มเซลล์ที่เก็บรักษาไว้โดยวิธีการแช่แข็งในไนโตรเจนเหลว จะไม่มีการหมดอายุ

สำหรับท่ามกลางการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน สเต็มเซลล์ได้มีบทบาทในการช่วยเสริมการรักษาโรคติดเชื้่อโควิด-19 ด้วยเช่นกัน โดย ดร.นพ. ศุภชัย กล่าวว่า สเต็มเซลล์สามารถมาช่วยต่อสู้กับโควิด-19 ได้ โดยมีงานศึกษาวิจัยล่าสุดจากทีมวิจัยในประเทศจีน ซึ่งศึกษาในผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงมากและรุนแรงน้อย เปรียบเทียบระหว่างการรักษามาตรฐาน และการรักษามาตรฐาน ควบคู่กับการใช้สเต็มเซลล์ ชนิดที่เรียกว่า Mesenchymal Stem Cells (MSCs) พบว่า กลุ่มคนไข้ที่ได้รับการรักษาควบคู่สเต็มเซลล์ MSCs มีผลการรักษาดีขึ้น คนไข้สามารถออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น


“การรักษามี 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการรักษาจำเพาะที่ใช้ยาเพื่อมุ่งเป้าไปทำลายเชื้อไวรัส ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่า มียาที่จำเพาะต่อไวรัสชนิดนี้ ส่วนที่สอง เป็นการรักษาแบบสนับสนุน ซึ่งเป็นการรักษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ที่ทำให้คนไข้ต้องนอนโรงพยาบาลเป็นเวลานาน เป็นส่วนที่ทำให้ปอดทำงานไม่ได้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งกลไกตรงนี้เป็นผลจากการตอบสนองของร่างกายที่มากเกินไป และสเต็มเซลล์ MSCs มีคุณสมบัติที่จะไปลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันไม่ให้มากเกินไป”

กมลรัตน์ กล่าวเสริมว่า นอกจากมีการใช้ MSCs มาช่วยลดความรุนแรงของระบบภูมิคุ้มกันแล้ว ยังช่วยในเรื่องการฟื้นฟูด้วย จากที่มีการศึกษาในประเทศอื่นๆ รวมถึงในจีน ทั้งนี้มี รายงานการวิจัยกว่า 45 ชิ้นระบุว่า มี 597 การทดลองทางคลินิกทั่วโลก ที่มีการรักษาโรคโควิด-19 ด้วยวิธี Cell and Gene therapy โดยกลไกในการทำงานของ MSCs ที่ช่วยในการรักษาโรคปอดอักเสบโควิด-19 ได้เช่น สามารถฟื้นฟูเนื้อเยื่อปอด ช่วยป้องกันการทำลายเซลล์เยื่อบุถุงลม ยับยั้งการเกิดพังผืดที่ปอดและรักษาความผิดปกติที่ปอด

ทุกคนสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ด้วยสเต็มเซลล์ที่จะช่วยดูแลสุขภาพและช่วยชะลอวัย มาร่วมดูแลสุขภาพและอนาคตของท่านและคนที่เรารักไปด้วยกัน สอบถามข้อมลเพิ่มเติมได้ที่ 02 203 6982 , 094 449 9445 www.facebook.com/cryoviva, www.cryoviva.com

Thailand Sport Magazine Sponsored
ผู้สื่อข่าว กีฬา

ข่าวกีฬา นักกีฬา กีฬา ในร่ม indoor outdoor ต้องทำ sport ให้เป็น กีฬา หลักของประเทศ ดูข้อมูล กอล์ฟ บาสเก็ตบอล ฟุตบอล ว่ายน้ำ วอลเล่ย์บอล มวย แข่งรถ แบดมินตัน และ อีสปอร์ต Dedicated to all sport news from Thailand, with news updates, stories and event reports on many different types of sporting activities that the Thailand currently holds, across all of the asia.

This website uses cookies.