Thailand Sport Magazine Sponsored

รู้จัก ทีมผู้ลี้ภัย ‘พาราลิมปิกเกมส์ 2020’ เมื่อกีฬาไม่มีคำว่าแบ่งแยก! – กรุงเทพธุรกิจ

Thailand Sport Magazine Sponsored
Thailand Sport Magazine Sponsored

28 สิงหาคม 2564 | โดย กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

195

“โตเกียว 2020 พาราลิมปิกเกมส์” มีทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัยเข้าร่วมด้วย ซึ่งถือเป็น “ทีมผู้ลี้ภัยพาราลิมปิกเกมส์ 2020” ทีมแรก ที่ได้เข้าร่วมการแข่งพาราลิมปิกอย่างเป็นทางการ และมีสมาชิกมากถึง 6 คน

ความน่าสนใจของงานมหกรรมแข่งขันกีฬาสำหรับผู้พิการ “พาราลิมปิกส์เกมส์” นอกจากเป็นการแข่งขันของนักกีฬาผู้มีข้อจำกัดทางร่างกายแล้ว ในอีกด้านหนึ่ง ความเท่าเทียมด้านเชื้อชาติ ก็ถูกหยิบยกขึ้นพูดถึงไม่น้อยกว่ากัน 

ทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัย หรือ Refugee Paralympic Team ในงาน “โตเกียว 2020 พาราลิมปิกเกมส์” มีสมาชิก 6 คน เป็นทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัยทีมแรก ที่จะลงแข่งภายใต้ธงสัญลักษณ์ของคณะกรรมการพาราลิมปิกสากลตลอดการแข่งขัน 

  • ทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัยทีมแรกใน พาราลิมปิกเกมส์อย่างเป็นทางการ

ทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัยในงานโตเกียว 2020 พาราลิมปิกเกมส์ถือเป็นทีมผู้ลี้ภัยทีมแรกที่ได้เข้าร่วมการแข่งพาราลิมปิกอย่างเป็นทางการ หลังจากนักกีฬาผู้ลี้ภัย 2 คนได้ลงแข่งในการแข่งขันที่ริโอ .. 2559 ภายใต้ทีมนักกีฬาพาราลิมปิกอิสระทีมนักกีฬาในปีนี้ประกอบด้วยผู้ลี้ภัย 6 คนจาก 4 ประเทศที่มอบพักพิง และจะลงแข่งใน 5 ประเภทกีฬาพาราลิมปิก 

  • อลิอา อิซซา นักกีฬาพาราลิมปิกหญิงผู้ลี้ภัยคนแรก ผู้มีอายุน้อยที่สุดในทีม

ในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิก ที่กรุงโตเกียว สำหรับผู้เชิญธงทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัย คือ อลิอา อิซซา ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่อาศัยอยู่ในประเทศกรีซ ผู้ลงแข่งขันขว้างไม้

อลิอาติดเชื้อโรคไข้ทรพิษตอนอายุ 4 ขวบ ทำให้สมองได้รับความเสียหายและทำให้เธอมีความบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา ล่าสุดเธอได้ครองอันดับ 4 ในการแข่งขันพาราเวิลด์กรีฑาชิงแชมป์ยุโรป .. 2564

  • อับบาส คาริมิ นักกีฬาว่ายน้ำ ชัยชนะที่คาดหวังเพื่อจุดไฟให้ผู้ลี้ภัยทุกคน

อับบาส คาริมิ ผู้ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานที่อาศัยอยู่ในเมืองฟอร์ท ลอเดอร์เดล ประเทศสหรัฐอเมริกา อับบาสพิการแขนทั้งสองข้างแต่กำเนิดและต้องเผชิญกับสงครามแบ่งแยกดินแดนในบ้านเกิดของเขา เพราะความบกพร่องทางร่างกายและเชื้อชาติ ทำให้เขาต้องหนีมายังประเทศตุรกีที่เขาพักพิงอยู่ในสถานะผู้ลี้ภัยเป็นเวลา 4 ปี ก่อนได้ไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในสหรัฐอเมริกา

อับบาสเคยคว้ารางวัลมาได้ 8 เหรียญ รวมถึง 1 เหรียญเงิน จากการแข่งขันพาราเวิลด์ว่ายน้ำชิงแชมป์ยุโรปที่เม็กซิโก ซิตี้ .. 2560 และเขาคาดหวังที่จะคว้าอีกรางวัลให้ได้จากการแข่งขันที่โตเกียว 

  • อิบราฮิม อัล ฮุซเซน นักว่ายน้ำผู้ลี้ภัยที่อยากให้ผู้ลี้ภัยทุกคนเข้าถึงกีฬา

อิบราฮิม อัล ฮุซเซน จากประเทศบ้านเกิดในซีเรีย ผู้เคยลงแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ที่เมืองริโอ .. 2559 หนึ่งในสองสมาชิกแรกของทีมนักกีฬาพาราลิมปิกอิสระที่มีทั้งผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัย ตอนนี้อิบราฮิมอาศัยอยู่ในประเทศกรีซ ขาข้างขวาของเขาตั้งแต่ช่วงเข่าลงไปถูกตัดออก หลังได้รับบาดเจ็บจากเหตุระเบิดในซีเรียขณะกำลังพยายามช่วยเพื่อนที่ได้รับบาดเจ็บ

ผมอยากให้ผู้ลี้ภัยทุกคนได้รับโอกาสทางการกีฬา ผมคิดไม่ออกเลยว่าชีวิตผมจะเป็นอย่างไรถ้าไม่มีกีฬาอิบราฮิม กล่าว

อนาส อัล คาลิฟา ชาวซีเรียพลัดถิ่นมายังประเทศเยอรมนีโดยผ่านทางประเทศตุรกีใน .. 2558 ที่เขาเคยทำงานติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ ก่อนได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลังจาการตกตึก 2 ชั้นใน .. 2561 ทำให้เขาเคลื่อนไหวได้อย่างจำกัดและสูญเสียความรู้สึกบางส่วนตั้งแต่สะโพกลงไป

นักกายภาพบำบัดของเขาแนะนำให้เขาเริ่มพายเรือแคนูสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายเมื่อปีก่อน และต้องขอบคุณความทุ่มเทในการฝึกซ้อมของเขา และการสนับสนุนของโค้ชที่เคยเป็นอดีตนักกีฬาโอลิมปิกที่เคยได้รับรางวัล ทำให้อนาสมีพัฒนาการอย่างน่าทึ่ง

ทุกครั้งที่ผมฝึกซ้อมกีฬา ทำให้รู้สึกเหมือนว่าตัวเองสามารถประสบความสำเร็จได้อีกในหลายๆ เรื่อง และมันทำให้ลืมเรื่องความบกพร่องทางร่างกายไปเลย” อนาส บอก

  • ชาห์ราด นาซัจปูร์ ผู้บุกเบิกทีมนักกีฬาพาราลิมปิกผู้ลี้ภัย

ชาห์ราด นาซัจปูร์ อีกหนึ่งสมาชิกของทีมนักกีฬาพาราลิมปิกอิสระที่ริโอ เขาจะลงแข่งอีกครั้งในกีฬาขว้างจักรที่โตเกียว ชาห์ราดเกิดในประเทศอิหร่าน พร้อมความบกพร่องทางสมองแต่กำเนิด เขาเคยเล่นปิงปองก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นพารากรีฑา หลังจากได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกาใน .. 2558 เขาติดต่อคณะกรรมการพาราลิมปิกสากลด้วยความคิดที่จะจัดตั้งทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัยสำหรับการแข่งขันที่ริโอ และเขาก็สามารถเข้าร่วมการแข่งขันนั้นได้ในที่สุด

ปาเฟ่ต์ อาคิซิมานา ผู้ที่เดินทางไปโตเกียวตรงจากค่ายผู้ลี้ภัยมาฮามาในประเทศรวันดาที่เขาพักพิงอยู่ โดยเขาหนีออกมาจากความขัดแย้งในประเทศบุรุนดี เขาเสียแขนข้างหนึ่งตอนอายุ 8 ขวบ ระหว่างถูกโจมตี ซึ่งแม่ของเขาเสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วย เขาเริ่มเรียนเทควันโดในเวลาต่อมา และได้เข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติ อีกทั้งยังเป็นผู้ฝึกซ้อมให้เด็กๆ ผู้ลี้ภัยในค่ายด้วยเช่นกัน

ที่มา : สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) 

Thailand Sport Magazine Sponsored
ผู้สื่อข่าว กีฬา

ข่าวกีฬา นักกีฬา กีฬา ในร่ม indoor outdoor ต้องทำ sport ให้เป็น กีฬา หลักของประเทศ ดูข้อมูล กอล์ฟ บาสเก็ตบอล ฟุตบอล ว่ายน้ำ วอลเล่ย์บอล มวย แข่งรถ แบดมินตัน และ อีสปอร์ต Dedicated to all sport news from Thailand, with news updates, stories and event reports on many different types of sporting activities that the Thailand currently holds, across all of the asia.

This website uses cookies.