Thailand Sport Magazine Sponsored
Categories: กรีฑา

ประเมิน “สงคราม 3 ยุทธบริเวณ” – ศึกยูเครนลาม…เสี่ยง “หายนะทั้งสองฝ่าย” – สำนักข่าวอิศรา

Thailand Sport Magazine Sponsored
Thailand Sport Magazine Sponsored

เขียนวันที่

วันพฤหัสบดี ที่ 03 มีนาคม 2565 เวลา 23:33 น.

การสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครน ไม่ได้ยุติลงในระยะเวลาอันสั้นตามที่บางฝ่ายคาดการณ์ 

สถานการณ์ ณ ปัจจุบัน ไม่ได้มีแค่รัสเซียกรีฑาทัพเขาโจมตียูเครน แต่ยังมีความเคลื่อนไหวของฝั่งยูเครนที่ตอบโต้ ภายใต้การสนับสนุนแบบจำกัดวงของสมาชิกนาโต้และสหรัฐ

ขณะเดียวกันก็มีสมรภูมิที่รัสเซียเป็นฝ่ายถูกโจมตี ทั้งการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

ภาพรวมของสถานการณ์ปัจจุบัน ถูกประเมินผ่านสายตาของอดีตหัวหน้าหน่วยงานความมั่นคง ซึ่งปัจจุบันผันตัวเป็นนักวิชาการอิสระด้านความมั่นคง เอาไว้อย่างน่าสนใจ จึงขอสรุปสาระสำคัญนำมาฝากกัน…

– มุมมองต่อสงครามที่กำลังเกิดขึ้น

มีสงครามถึง 3 theater หรือ 3 ยุทธบริเวณ คือ

1.สงครามที่ใช้เครื่องมือด้านการทหาร เป็นการรบแบบตัวต่อตัวระหว่างรัสเซียกับยูเครน ซึ่งดูเหมือนรัสเซียยังครองความได้เปรียบ

2.สงครามทางเศรษฐกิจ สงครามนี้เหมือนจะเป็น 30 รุม 1 (หรือมากกว่านั้น) สงครามนี้รัสเซียตกเป็นรองและเริ่มพ่ายแพ้อย่างเห็นได้ชัด

3.สงครามสื่อ จะเรียกว่าการโฆษณาประชาสัมพันธ์ หรือการปฏิบัติการข่าวสาร หรือปฏิบัติการจิตวิทยาก็ได้ สงครามนี้ รัสเซียก็พ่ายแพ้อย่างชัดเจน

– ความเสียหายและเหยื่อของสงคราม

ในด้านการทหารเห็นได้ชัดว่าทั้งยูเครนและรัสเซียต่างสูญเสียกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ไปเป็นจำนวนมาก และมีประชาชนผู้บริสุทธิ์ตกเป็นเหยื่อของสงครามจำนวนไม่น้อย ด้านหนึ่งคือประชาชนที่อยู่ในยูเครน และอีกด้านหนึ่งคือประเทศที่ต้องแบกรับภาระดูแลผู้อพยพ

ส่วนสงครามทางเศษรฐกิจที่นาโต้และสหรัฐใช้เป็นอาวุธ ดูเหมือนไม่ใช่แค่รัสเซียที่ได้รับผลกระทบ แต่ประชาชนทั้งโลกกำลังได้รับผลกระทบรุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับ เห็นได้ชัดจากขณะนี้ราคาพลังงาน สินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้น และจะทวีความรุนแรงมากขึ้นหากสงครามยืดเยื้อ

ขณะที่อิทธิพลของสงครามข้อมูลข่าวสาร ก่อให้เกิดความเกลียดชังระหว่างประชาชนในทุกประเทศที่อาจถือหางฝ่ายที่แตกต่างกัน

ตรงจุดนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของสงคราม ไม่ใช่คนยูเครนหรือคนรัสเซีย และคนที่ชนะสงครามก็ไม่ใช่รัสเซีย สหรัฐ หรือนาโต้ แต่ข้อเท็จจริงคือประชาชนไม่ว่าเชื้อชาติใดล้วนตกเป็นเหยื่อของสงครามนี้ทั้งสิ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ไม่ว่ารัสเซีย สหรัฐ หรือนาโต้ ต่างอาศัยประชาชนเป็นเสมือนตัวประกัน เพื่อสร้างความได้เปรียบในสงคราม

– แนวโน้มสถานการณ์ในอนาคต

1.การเจรจาระหว่างรัสเซียกับยูเครนอาจเป็นความหวังเดียวที่จะช่วยยุติความรุนแรงของสงครามได้ (ล่าสุดมีข่าวการเจรจาครั้งที่ 2 ที่ชายแดนเบลารุส ใกล้กับโปแลนด์ ตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 3 มี.ค.) แต่ผลลัพท์ที่เกิดน่าจะช่วยคลี่คลายปัญหาได้อย่างมากเพียงแค่การระงับยับยั้งการทำสงครามทางทหาร แต่ไม่อาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับพันธมิตรที่เป็นศัตรูกัน หวนกลับมาคืนดีต่อกันได้ เพราะพื้นฐานของนโยบาย หรือแก่นแกนของยุทธศาสตร์ของทั้งรัสเซีย กับสหรัฐและนาโต้ ต่างกำหนดให้แต่ละฝ่ายเป็นศัตรูในระยะยาวไปแล้ว และเมื่อได้กำหนดความเป็นมิตรและศัตรูเอาไว้ในยุทธศาสตร์แล้ว ก็ยากที่จะหวนกลับมาคืนดีกันได้

สถานการณ์ด้านความมั่นคงในอนาคต แม้สงครามรัสเซียกับยูเครนจะสามารถยุติลงได้ แต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทิศทางของสถานการณ์ที่กำลังขับเคลื่อนให้โลกก้าวไปสู้สภาวะการแข่งขันอิทธิพลกันระหว่าง “สองขั้วอำนาจ” คือ ขั้วอำนาจที่มีสหรัฐกับนาโต้เป็นแกนนำ กับขั้วอำนาจที่มีรัสเซียและจีนเป็นแกนนำ (ซึ่งจีนถูกสหรัฐกำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติว่าเป็นภัยคุกคามลำดับต้นๆ) โดยมีพันธมิตรที่เพิ่งรวมตัวกันอย่างหลวมๆ เป็นฝ่ายสนับสนุน

– สถานการณ์เฉพาะหน้าและตัวแปรที่ต้องเฝ้าระวัง

ปัจจัยชี้ขาดสงครามทั้ง 3 ยุทธบริเวณ อยู่ที่ใครจะทนได้มากกว่ากัน และใครจะยอมถอยก่อน

ทั้งนี้ ในแง่ยุทธบริเวณในด้านการรบด้วยกำลังทหาร คาดว่าระยะเวลาของการรบคงดำเนินไปอีกไม่นาน คงจะเห็นผลแพ้ชนะ แต่การฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งทรัพย์สินและผลกระทบทางเศรษฐกิจคงจะใช้เวลานานกว่ามาก แต่ที่ต้องใช้เวลานานที่สุดคือการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างกัน

ความเสี่ยงที่น่ากังวลมากที่สุด คือ สภาพของสงครามเย็นรอบใหม่ที่จะเกิดขึ้น รวมถึงท่าทีของสหรัฐที่จะเข้าแทรกแซงสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ซึ่งกรณีนี้มีความล่อแหลมมากที่รัสเซียอาจตัดสินใจใช้อาวุธที่มีอำนาจทำลายสูงซึ่งได้พัฒนาขึ้นใหม่ (สามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ได้)

ภาพของสถานการณ์เช่นนั้น จะนำไปสู่สถานการณ์ที่นักการทหารกังวลมาก คือ MAD (Mutual Assured Destruction) หรือเรียกภาษาชาวบ้านก็คือ หายนะไปด้วยกันทั้งสองฝ่าย

– ทำไมการรบส่อเค้ายืดเยื้อ?

สาเหตุที่รัสเซียไม่สามารถเผด็จศึกยูเครนได้ในระยะเวลาอันสั้นเหมือนที่บางฝ่ายคาดการณ์เอาไว้ สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะยูเครนเป็นประเทศใหญ่ มีอาวุธมากพอที่จะยับยั้งการรุกของรัสเซียได้พอสมควร แม้ว่ารัสเซียจะโจมตีและทำลายเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ เช่นที่ตั้งทางทหาร สนามบิน ตัดระบบโทรคมนาคม (ตัดระบบ c4i ได้แก่ ระบบ command control communication computer และ intelligence) ได้เกือบทั้งหมดก็ตาม

แต่การรบจริงจำเป็นต้องเข้ายึดพื้นที่ ควบคุมผู้มีอำนาจสั่งการ ทำลายกำลังรบของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งต้องใช้เวลานานพอสมควร หากยูเครนยังไม่ยอมแพ้และปรับกองกำลังเป็นหน่วยรบจรยุทธ์ หรือมีนักรบต่างชาติเข้าไปร่วมรบ ย่อมควบคุมยากยิ่งขึ้นไปอีก

– จีนยื่นมือเข้าช่วยเจรจา

มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ ก็คือ กรณีรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของจีน โทรศัพท์หารือกับรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของยูเครน เห็นได้ชัดว่าเป็นการดำเนินความพยายามที่จะเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยปัญหาขัดแย้งระหว่างรัสเซีย ยูเครน เพราะจีนใกล้ชิดกับทั้งสองประเทศมาก สอดรับกับการเปิดเจรจารอบ 2 ระหว่างรัสเซียกับยูเครนในวันที่ 2-3 มี.ค.

การเจรจาระหว่างรัสเซียกับยูเครนรอบแรก ทุกฝ่ายได้เห็นข้อเรียกร้องของทั้ง 2 ชาติชัดเจนแล้ว โดยยูเครนขอให้รัสเซียยุติการโจมตีทันที ส่วนรัสเซียเรียกร้องให้ยูเครนมีกองทัพที่เป็นกลางและแสดงท่าทีให้ชัดเจนว่า จะไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต้

ข้อเรียกร้องของทั้งสองฝ่าย ถือว่ายังมีช่องทางผ่อนปรนได้ คาดว่าจีนจะแสดงบทบาทมากขึ้นในเรื่องนี้ แต่จะไม่แทรกแซงการตัดสินใจ

– ทำไมจีนต้องแสดงบทบาท

นอกจากเป็นเพราะจีนใกล้ชิดกับทั้งยูเครนและรัสเซียแล้ว ทั้งสองประเทศยังอยู่ในแผนสำคัญของนโยบาย Belt and Road Initiative หรือ BRI ด้วย

ขณะเดียวกัน สงครามที่เกิดขึ้น จีนเองก็ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ อาจจะมากกว่าทุกประเทศด้วยซ้ำเพราะสงครามที่อาจจะขยายตัวในอนาคต จะกระทบโครงการ BRI ที่จีนทุ่มเงินลงทุนลงไปจำนวนมหาศาลและหลายโครงการคืบหน้าไปมากแล้ว คาดว่าแม้แต่ยุโรปเองก็อยากให้สงครามยุติ เพราะเดือดร้อนจากความขัดแย้งนี้ด้วยเช่นกัน

– โลก 2 ขั้ว สงครามเย็นระลอกใหม่

ประเทศที่น่าจะได้ประโยชน์มากที่สุดในสถานการณ์นี้ คือสหรัฐ เพราะน่าจะพอใจกับสภาพที่โลกกลับไปสู่ระบบสองขั้วอำนาจอีก เนื่องจากจะลดอิทธิพลของจีน และดึงให้ยุโรปกลับมาอยู่ใต้ร่มเงาของตนเองอีกครั้ง ส่วนประเทศที่เหลือก็ต้องเลือกข้าง

ท่าทีของสหรัฐที่ประกาศสนับสนุนเงินและอาวุธ แสดงให้เห็นว่าเป้าหมายต้องการทำสงครามยืดเยื้อ สร้างกลุ่มต่อต้านรัสเซียขึ้นมา ซึ่งเป็นแนวทางที่สหรัฐถนัด แต่ผลที่จะเกิดตามมายิ่งทำให้รัสเซียเร่งยึดยูเครนให้จบเร็วขึ้น เพราะอ่านแผนนี้ออกเช่นกัน

ที่ผ่านมาเคยมีปฏิบัติการทางข้อมูลข่าวสารและจิตวิทยา ปลุกกระแสคนรุ่นใหม่จนเกิดการ “ปฏิวัติส้ม” โค่นล้มประธานาธิบดียูเครนที่นิยมรัสเซียมาแล้ว

บทบาทของสหรัฐเรียกว่า win-win คือแสดงความรับผิดชอบในการช่วยยูเครนภายใต้ข้อจำกัดที่ยูเครนไม่ได้เป็นสมาชิกนาโต้ กับทำให้รัสเซียติดกับดักการสู้รบ จนอาจเป็นสงครามยืดเยื้อ เพราะจุดอ่อนที่รัสเซียแพ้ในสงครามอัฟกานิสถานก็คือสงครามยืดเยื้อ

ขณะเดียวกันยุโรปก็เดือดร้อน ต้องเจอวิกฤติพลังงานจากผลของการคว่ำบาตร ต้องนำน้ำมันสำรองของตนออกมาใช้ และสหรัฐก็จะแสดงบทบาทกดดันซาอุอาระเบียและชาติตะวันออกกลางให้เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ยุโรป

ส่วนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีข่าวว่าสหรัฐเตรียมเชิญประชุมสุดยอดสหรัฐกับอาเซียน เป้าหมายโดยนัยก็เพื่อกดดันให้อาเซียนเลือกข้าง ทั้งกรณีรัสเซีย และกรณีของจีน

แน่นอนว่าทั้งจีนและรัสเซียมองแผนนี้ออก และจะพยายามสกัดแผนสหรัฐในวิถีทางของตนเอง

โอกาสที่โลกจะเผชิญกับสงครามเย็นรอบใหม่จึงสูงยิ่ง!

Thailand Sport Magazine Sponsored
ผู้สื่อข่าว กีฬา

ข่าวกีฬา นักกีฬา กีฬา ในร่ม indoor outdoor ต้องทำ sport ให้เป็น กีฬา หลักของประเทศ ดูข้อมูล กอล์ฟ บาสเก็ตบอล ฟุตบอล ว่ายน้ำ วอลเล่ย์บอล มวย แข่งรถ แบดมินตัน และ อีสปอร์ต Dedicated to all sport news from Thailand, with news updates, stories and event reports on many different types of sporting activities that the Thailand currently holds, across all of the asia.

This website uses cookies.